ทำไมต้อง Study in Japan? เชื่อว่าหลายคนที่มีความชื่นชอบในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ไม่ว่าจะผ่านการฟังเพลง การอ่านมังงะ หรือดูโดราม่าก็ตาม มีความใฝ่ฝันว่าสักครั้งในชีวิตอยากไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทำให้ในทุก ๆ ปี ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นจุดหมายปลายทางแรก ๆ ในเอเชียที่คนไทยอยากไปเรียนภาษาระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น หรืออยากไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในทวีปเอเชียก็ตาม แต่วัฒนธรรมนั้นก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากประเทศไทยอย่างมาก เพื่อให้คนที่สนใจจะไปร่ำเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นได้รู้ประเทศญี่ปุ่นอย่างลึกก่อนตัดสินใจไป ทาง APSthai เลยโครงการ Study in Japan ที่จะช่วยให้คำแนะนำเรื่องการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (Study in Japan) ให้กับบุคคลที่มีความสนใจ โดยจะเขียนบทความเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจทั้งในด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น และการศึกษาญี่ปุ่นต่อไป
- 睦月 (むつき; mutsuki)
ที่จริงแล้วแต่เดิมเดือนมกราคมแต่เดิมมีชื่อว่า 睦月 โดยความหมายของคำนี้มีหลากหลายแต่ที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คือเป็นเดือนที่สมาชิกในครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่
睦び月→睦月
- 如月 (きさらぎ; kisaragi)
เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่แต่เดิมมีชื่อว่า 如月 ซึ่งคันจิคำนี้มีความหมายว่าทำให้เป็นเดือนที่ 2 อย่างที่เคยเป็นมา เพราะก่อนหน้าเดือนนี้ถ้านับตามดวงดาวจะไปอยู่กลางเดือนมีนาคม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์อากาศจะเริ่มกลับมาหนาวเย็นอีกครั้ง จึงต้องสวมเสื้อผ้ามาสวมใส่อีกครั้งเพื่อความอบอุ่น
衣を更に着る→衣更着 (きさらぎ)→如月 (きさらぎ)
- 弥生 (やよい; yayoi)
ในเดือนมีนาคม เป็นเดือนที่พูดถึงช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงในรอบปี เช่น ปีการศึกษาและปีงบประมาณ ในเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่อากาศอบอุ่น พืชพันธุ์เจริญเติบโตได้ดี เลยมีความหมายในเชิงของการเริ่มต้น
木草弥や生ひ月 (きくさいやおひづき)→やよひ→やよい
- 卯月 (うづき; utsuki)
เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ที่ดอกอุโนะฮานะ (卯の花) เบ่งบาน
卯の花月→卯月
- 皐月 (さつき; satsuki)
ในเดือนพฤษภาคมแต่เดิมที่ชื่อ 皐月 เพราะเป็นเดือนที่มีการเริ่มต้นทำนาหว่านข้าว
早苗月 (さなえづき)→早月→皐月
- 水無月 (みなづき; minazuki)
ในเดือนมิถุนายน ในอดีตมีการใช้ชื้อนี้เพราะเป็นเดือนที่ฤดูฝนจบลง น้ำก็น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่ใช้น้ำเพื่อเพาะปลูกด้วย เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นเดือนที่ไม่มีน้ำมากที่สุดแต่ต้องการน้ำมากที่สุด
水張月→水月→水の月→水無月
※ คำว่า 無 ความหมายเหมือน の
- 文月 (ふみづき; fumizuki)
ในเดือนกรกฎาคมจะมีตำนานอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน ตำนานแรก เป็นเดือนที่ข้าวเจริญเติบโตรุ่งเรือง พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
ตำนานที่สอง เป็นเดือนที่เหมาะแก่การประพันธ์บทกวีอันเนื่องจากวันทานาบาตะ (วันที่ 7 เดือน 7)
穂含月 (ほふみづき)→文月
文披月 (ふみひらきづき)→文月
- 葉月 (はづき; hazuki)
ในเดือนสิงหาคม อากาศกำลังร้อนได้ที่เป็นเดือนที่ใบไม้เปลี่ยนสีและร่วงหล่นลง
葉落ち月→葉月
- 長月 (ながつき; nagatsuki)
เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานกว่าปกติ เลยเป็นเหตุผลที่ใช้คำว่า 長 ที่แปลว่ายาวนาน
夜長月→長月
- 神無月 (かんなづき; kannazuki)
เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีความเชื่อว่าเทพเจ้ามารวมตัวกันที่ศาลเจ้าอิซุโมะ (出雲大社) ส่งผลให้ทั่วทั้งประเทศไม่มีเทพเจ้าอยู่ในช่วงนี้
神様がいない→神無→神無月
- 霜月 (しもつき; shimotsuki)
ในเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่อากาศเริ่มหนาวมากขึ้นตามลำดับและมีน้ำค้างที่แข็งตัวเกิดขึ้นทั่วบริเวณ
霜降月→霜月
- 師走 (しわす; shiwasu)
และเดือนสุดท้ายของปี เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่ใกล้เข้าสู่ช่วงปีใหม่ พระ (師) จะวุ่นวายมากในช่วงนี้ เพราะจะต้องเตรียมทำพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่วงนี้