จะเข้า University ที่ UK หนึ่งในสิ่งที่เป็น Requirement สำคัญ คือ English Language Requirement ซึ่งเด็ก ๆ บางคนก็สามารถใช้ผลสอบ IGCSE English Language หรือใช้ประวัติการเรียนในต่างประเทศเป็นหลักฐานยืนยัน Skills การใช้ภาษาอังกฤษได้ อย่างไรก็ดี เด็กหลาย ๆ คนก็ยังต้องแสดงหลักฐานตรงส่วนนี้เพิ่มเติม และ IELTS ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่เด็ก ๆ เลือกสอบกันเยอะที่สุด เพราะมีความคุ้นเคยมากกว่าการสอบประเภทอื่น

IELTS นั้นดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แค่ทำคะแนนรวม (Overall) กับคะแนนแต่ละ Skills คือฟัง พูด อ่าน เขียน ให้ได้ตามที่ University ต้องการ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่เรื่องที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเล็ก ๆ นี้ ก็เคยกลายเป็นเรื่องใหญ่ และ ทำให้บางคนต้องพลาด University ที่อยากเข้ามาแล้ว

มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ ไปดูกันครับ

เอาคะแนนหลาย ๆ ครั้งมารวมกันไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น เด็กบางคนสอบ IELTS หลายครั้ง ครั้งแรกทุกอย่างผ่านเกณฑ์หมด ยกเว้น Writing พอครั้งที่สอง คราวนี้ Writing ผ่านแล้ว แต่คะแนนรวมไม่ผ่าน พอเป็นแบบนี้บางคนจะเข้าใจว่า เราสามารถเอาส่วนที่ดีที่สุดของการสอบหลาย ๆ ครั้งมาคิดรวมกันได้ เช่นเอาคะแนนรวมของครั้งแรก มาใช้คู่กับ Writing ของครั้งที่สอง

เกือบทุกกรณีที่ได้เห็นมาก็คือ University เขาจะพิจารณาจากการสอบเป็นครั้ง ๆ ครั้งใดครั้งหนึ่งเท่านั้น ถ้าเราจะเอาครั้งไหนมาใช้ ก็ต้องใช้ทั้งหมด ไม่สามารถเลือกบางส่วนของหลาย ๆ ครั้งมารวมกันได้ ทั้งนี้เพราะ University เขาต้องการเห็นระดับของคะแนนทั้ง 4 Skills ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในการสอบครั้งเดียวเป็นหลัก

มีบ้างเหมือนกัน ที่เคยมีบาง University เขาให้เอาแต่ละส่วนของการสอบหลาย ๆ ครั้งมาคิดรวมกันได้ แต่ก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะฉะนั้น อย่าหวังว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเลย พยายามทำแต่ละครั้ง ๆ ให้ดีที่สุดจะดีกว่า

อย่าสอบเร็วเกินไป และ อย่าสอบช้าเกินไป

หลาย ๆ University กำหนดอายุของ IELTS เอาไว้ 2 ปี ซึ่งหลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่า 2 ปีคือนับจากวันที่ยื่น UCAS แต่จริง ๆ แล้ว 2 ปีนั้นนับจากวันเปิดเทอมของ University ในวันที่เราจะเข้าไปเรียน

ปกติ University จะเปิดเทอมกันตอนเดือน September หรือ October เพราะฉะนั้นถ้าเราสอบก่อน September หรือ October ของปีที่เรากำลังขึ้น Year 12 นั้น อายุของ IELTS ก็จะเกิน 2 ปีแน่นอน จำไว้ว่าต่อให้ได้คะแนนดีแค่ไหน แต่ถ้าอายุเกิน ก็ถือว่าใช้ไม่ได้

คำแนะนำคือ ให้สอบ IELTS หลังจากผ่านเดือน October ของ Year 12 ไปแล้ว อย่าสอบเร็วกว่านั้น อาจจะใช้ช่วงปิดเทอม 1 ของ Year 12 ตอน December เป็นช่วงที่จะสอบ IELTS เป็นครั้งแรกก็ได้

นอกจากจะต้องไม่สอบ IELTS เร็วเกินไปแล้ว ก็ต้องไม่สอบช้าเกินไปด้วย ปกติเราต้องมีคะแนนถึงตามเงื่อนไขที่ University ต้องการสำหรับ IELTS ประมาณช่วง July/August ของตอนจบ Year 13 (แล้วแต่ที่) บางคนเลยคิดว่า สอบ A-level กับ IB เสร็จประมาณเดือน June ก็ค่อยสอบ IELTS ก็ได้

คนที่คิดแบบนี้ พลาดมาหลายคนแล้ว เพราะถ้าเหลือเวลาสอบแค่นั้น แล้วดันสอบแล้วคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขึ้นมา โอกาสสอบแก้ตัวก็อาจจะไม่มีแล้ว ทำให้สุดท้าย แม้จะทำเกรด A-level หรือ IB ถึงตามที่ University เขาต้องการ ก็จะไม่ได้เข้าไปเรียนอยู่ดีเพราะ IELTS ไม่ถึงตามที่เขาขอไว้ และส่วนมาก IELTS เป็นสิ่งที่ต่อรองไม่ได้ เพราะถ้าไม่ถึง ก็แปลว่าเราไม่มีคุณสมบัติทางภาษาที่เพียงพอที่เขาจะมั่นใจให้เราไปเรียนได้

คำแนะนำคือ ภายใน Year 12 ให้ลองหาโอกาสสอบ ถ้าถึงเกณฑ์ก็สบายใจ แต่ถ้าไม่ถึง ก็รีบประเมินตัวเองว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะทำได้ดีขึ้น แล้วหาโอกาสสอบแต่เนิ่น ๆ ให้จบก่อนถึงช่วงสอบ A-level หรือ IB ตอนปลาย Year 13 ให้ได้

ถ้าคะแนน IELTS ไม่ถึง อย่ายื่นเข้าไปใน UCAS เด็ดขาด

บางคนคิดว่าถ้าไม่ใส่ IELTS เข้าไปใน UCAS จะทำให้ University ไม่ให้ offer แต่ในความเป็นจริงแล้ว การไม่ใส่ IELTS นั้นไม่เป็นไร การใส่ IELTS ที่คะแนนไม่ถึงต่างหากที่เป็น

ถ้าใส่ IELTS เข้าไป แล้วปรากฎว่ามันถึงตาม Requirement ที่ University นั้น ๆ ต้องการ เวลาที่ University นั้น ๆ ให้ offer เรามา เขาก็จะเรียกแค่เกรด A-level หรือ IB และไม่เรียก IELTS อีก

ส่วนกรณีที่เราไม่ได้ใส่ IELTS เข้าไป พอถึงเวลาที่ต้องได้ offer มันก็จะมีเงื่อนไขของ IELTS พ่วงเข้ามาให้เราต้องทำให้ถึง ก็เท่านั้นเอง ไม่ได้เสียหายอะไร

แต่การใส่ IELTS เข้าไป แล้วไม่ถึงตาม Requirement นั้น อันนี้คือเรื่องใหญ่ เพราะบาง University จะปฏิเสธเราทันที เพราะถือว่าทำไม่ถึงตามเกณฑ์ตั้งแต่ต้น

บทสรุป ก็คือ ถ้า IELTS ถึงเกณฑ์ของทุก ๆ University ก่อนยื่น UCAS ก็ให้ใส่เข้าไป แต่ถ้ายังไม่ถึง ก็ไม่ต้องใส่ หรือถ้ายังไม่มี ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล เดี๋ยว University ก็จะเรียกมาในภายหลังอยู่ดี

ต้องสอบเป็น Academic เท่านั้น แต่จะ UKVI หรือไม่ นั้นแล้วแต่กรณี

IELTS นั้นถ้าแบ่งตามความยาก จะแบ่งเป็น Academic กับ General ซึ่งสำหรับการสมัคร University นั้น ต้องใช้เป็น Academic เท่านั้น

และถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน จะมีแบบ UKVI กับ non-UKVI ซึ่งการสมัครเข้า University ในระดับปี 1 ทั่ว ๆ ไปจะสามารถใช้เป็นแบบไหนก็ได้

แต่ในกรณีที่ต้องเป็นการสมัคร Foundation หรือ International Year One ของหลาย ๆ ที่นั้น จะต้องใช้เป็นแบบ UKVI เท่านั้น ซึ่งก็เคยมีกรณีนี้เหมือนกันว่า ตอนแรกก็ตั้งใจจะสมัครปี 1 ธรรมดา เลยสอบแบบ non-UKVI ไว้ ปรากฎว่าถึงเวลาจริงต้องไปสมัคร International Year One ทำให้ IELTS ที่มีอยู่นั้นใช้ไม่ได้

คำแนะนำคือ ถ้าจะเอาชัวร์ว่าใช้ได้กับทุกกรณีแน่ ๆ ก็ให้สอบเป็น IELTS Academic UKVI เอาไว้ก่อน เดี๋ยวนี้ค่าสอบ UKVI แพงกว่าแบบ non-UKVI แค่หลักร้อยแล้ว เอาชัวร์ก็จ่ายเพิ่มเพียงนิดเดียวเท่านั้น

บทสรุป สำหรับเรื่อง IELTS … เรื่องเล็กที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าไม่ระวังให้ดีก็คือ

  • สอบทุกครั้ง ทำให้ดีที่สุดในทุก ๆ ส่วน เพราะเราจะใช้คะแนนของครั้งใดครั้งหนึ่งเท่านั้น
  • อย่าสอบเร็วเกินไป แนะนำว่าให้ผ่านเดือน October ของ Year 12 ไปแล้ว ถ้าเอาชัวร์ก็ตอน December เป็นต้นไป
  • อย่าสอบช้าเกินไป บางทีเราอาจต้องสอบหลายครั้งกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ University ต้องการ อย่าเก็บไว้ทำตอนหลัง ๆ เดี๋ยวคะแนนไม่ขึ้นแล้วจะเดือดร้อน
  • ถ้า IELTS ไม่ถึงเกณฑ์ ห้ามยื่นเข้าไปใน UCAS ถ้าถึงเกณฑ์หมดทุกที่ที่เราเลือกค่อยยื่น ส่วนคนที่ก่อนยื่น UCAS ยังไม่มี IELTS ก็ไม่เป็นไร เดี๋ยว University เขาเรียกมาใน Condition เอง
  • ห้ามสอบ IELTS General ต้องสอบ IELTS Academic เท่านั้น และดีสุดคือ IELTS Academic UKVI เพราะใช้ได้ในทุกกรณี

อย่าให้เรื่องเล็ก ๆ อย่าง IELTS กลายเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ที่ทำให้เราพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิตไปนะครับ

ปรึกษาวางแผนสอบ IELTS วางแผนเตรียม Profile วางแผนเลือก University ติดต่อทีม Krutoo/APSthai ได้เลยครับ

APSthai : The Best Education In Your Own Version