Architect หรือสถาปนิก เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ยังได้รับความสนใจจากเด็ก ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่มีความสามารถและความสนใจในการออกแบบต่าง ๆ ในบทความวันนี้เราจะมาดูกันว่า เส้นทางสู่การเป็น Architect ที่ประเทศอังกฤษนั้น เป็นอย่างไรบ้าง จะได้เตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องครับ

จากเด็กจบ A-level สู่การเป็น Architect เต็มตัว

การจะเป็น Architect เต็มตัวที่ประเทศอังกฤษได้นั้น จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับ ARB หรือ Architects Registration Board เสียก่อน ซึ่งก่อนที่จะไปถึงตรงนั้นได้ หลังเรียนจบ A-level หรือวุฒิ High School ที่เป็นที่ยอมรับจากประเทศอังกฤษแล้ว จะต้องผ่านขั้นตอนการประเมินบางอย่างรวมไปถึงการสอบที่เรียกว่า ARB/RIBA (Royal Institute of British Architects) ทั้งหมด 3 Parts ด้วยกัน ได้แก่

  • ARB/RIBA Part I คือการเรียนปริญญาตรี ในสาขา Architecture จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งตรงนี้จะใช้เวลาส่วนใหญ่คือ 3 ปี
  • ARB/RIBA Part II คือการเรียนต่อปริญญาโท หรือวุฒิบางอย่างที่เทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งตรงนี้จะใช้เวลาส่วนใหญ่คือ 2 ปี
  • ARB/RIBA Part III คือการฝึกงานเป็นเวลาอย่างน้อย 24 เดือน (2 ปี) หลังจากจบ ARB/RIBA Part II มาแล้ว รวมไปถึงการสอบข้อเขียน และ สอบสัมภาษณ์ ซึ่งเมื่อผ่านไปได้ ก็จะสามารถใช้คำว่า Architect ได้อย่างเต็มตัว

นั่นหมายความว่าโดยทั่ว ๆ ไปหลังจากจบ A-level แล้วจะใช้เวลา 7 ปี ก่อนจะได้ ARB/RIBA Part III ซึ่งถือว่าเป็น Architect อย่างเต็มตัวจริง ๆ อย่างไรก็ดี ยังมี Pathway อื่นอีกที่จะสามารถพาคนที่สนใจมายังจุดนี้ได้ครับ เพียงแต่นี่เป็น Pathway ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันเท่านั้นเอง

จะเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ที่อังกฤษด้าน Architecture ในระดับปริญญาตรี ต้องทำอย่างไร ?

จาก Ranking ล่าสุดของ The Complete University Guide 10 อันดับของสาขา Architecture ในอังกฤษในปัจจุบัน ได้แก่

  • Bath
  • Cambridge
  • Sheffield
  • University College London (UCL)
  • Strathclyde
  • University of the Arts London (UAL)
  • Cardiff
  • Newcastle
  • Loughborough
  • Edinburgh

อย่างไรก็ดี การเลือกมหาวิทยาลัยว่าน่าเรียนหรือไม่นั้น Ranking เป็นแค่องค์ประกอบเดียว คนที่สนใจควรเข้าไปอ่าน Syllabus หรือหลักสูตรของแต่ละที่ว่าใช่แนวที่เราอยากเรียนจริง ๆ หรือไม่ แต่ในเบื้องต้น ทั้ง 10 ที่นี้พิจารณาคนที่จะได้รับเลือกให้เข้าไปเรียนในระดับปริญญาตรีได้นั้น คล้าย ๆ กันคือ

  • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Portfolio หรือผลงานด้าน Art และการออกแบบต่าง ๆ ที่เรามี เพราะว่าสาขา Architecture นั้น พิจารณาผู้สมัครจาก Skills ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเป็นหลัก เพราะฉะนั้นใครจะเรียนต่อด้านนี้ต้องวางแผนเตรียม Portfolio ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ผลงานที่ได้จากการเรียน Art หรือ Design Techonology ในห้องเรียนนะครับ ผลงานอื่น ๆ ที่เป็นความสนใจส่วนตัวนอกห้องเรียนก็สมควรทำเตรียมไว้ด้วยเช่นกัน
  • วิชาเรียนในระดับ A-level นั้น จริง ๆ สาขา Architecture นี้ไม่ได้บังคับ แต่บางมหาวิทยาลัยอย่าง Cambridge และ Bath จะต้องการให้เด็ก ๆ เรียน Math ในระดับ A-level ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สมควร เพราะสาขา Architecture นั้นยังต้องมีการคำนวณและใช้ logical thinking ค่อนข้างมาก ส่วนวิชา Physics นั้น ปัจจุบันหลาย ๆ มหาวิทยาลัยไม่ได้เรียกเป็น requirement หลัก แต่ก็จะเป็นวิชาที่ช่วยได้มากในส่วนของการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับ Engineering สุดท้ายคือวิชา Art หรือ Design Technology นั้น ถ้ามีก็ดีมาก ๆ เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับงานสายออกแบบโดยตรง อย่างไรก็ดี ถ้าเด็ก ๆ คนไหนไม่มีโอกาสได้ทำเพราะโรงเรียนไม่มีให้ทำ ก็สามารถใช้ Portfolio ทดแทนได้ครับ ส่วนตัวแล้วผมจะเชียร์ว่า Math, Physics, Art/Design Technology คือ ตัวเลือก A-level ที่ดีที่สุด แต่การไม่ได้เลือกแบบนี้เพราะความจำเป็นบางอย่าง ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะหมดโอกาสในการสมัครนะครับ

สำคัญที่สุดคือ อยากเข้ามหาวิทยาลัยไหน ตรวจสอบ Entry Requirements ของที่นั่นดี ๆ ถ้าสงสัยก็สามารถส่ง email ไปสอบถามทางมหาวิทยาลัยได้ จะได้รับคำตอบที่แน่นอนที่สุดครับ

นอกจาก Portfolio และวิชา A-level แล้ว ก็คล้าย ๆ กับสาขาอื่น ๆ ครับ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยระดับท็อปในประเทศอังกฤษ อย่างระดับ Top 10 ที่แสดงให้เห็นข้างต้น ก็ต้องแน่ใจว่าเราเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • Personal Statement ที่อธิบายตัวตนของเราได้อย่างชัดเจนว่า เรา Born to be ด้านนี้อย่างไรและเรามีประสบการณ์และ Skills อะไรมาบ้างที่ทำให้บอกได้ว่าเราเหมาะสมที่จะเป็น Architect จริง ๆ
  • Reference จากครูที่ช่วยเสริมหลักฐานความ Born to be ของเราให้หนักแน่นขึ้น
  • Admissions Tests ในมหาวิทยาลัยอย่าง Cambridge เพื่อวัด Skills เฉพาะทางของเราในการเรียน Architecture
  • Interview เพื่อนำเสนอ Portfolio ของเรา เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่วาดรูปสวย ออกแบบดีเพียงอย่างเดียวนะครับ Skills ในการนำเสนอผลงานก็สำคัญมาก ๆ เช่นกัน

จริง ๆ แล้วนอกจากการเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยระดับท็อปที่อังกฤษ เพื่อที่จะได้ ARB/RIBA Part I แล้ว เรายังสามารถเรียนในสถาบันอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับและให้วุฒิ ARB/RIBA Part I ได้เหมือนกันครับ

อย่างที่หนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ คือ Architectural Association School of Architecture หรือ AA นั้น เป็นสถาบันที่ ใช้เวลาเรียน 3 ปี เช่นเดียวกับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป เพียงแต่วุฒิที่ได้จะไม่ใช่ปริญญาตรี แต่เป็น Diploma อย่างไรก็ดี ผู้เรียนจะได้ ARB/RIBA Part I เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจครับ เพราะเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นในด้าน Architecture เพียงอย่างเดียวไปเลยจริง ๆ

ARB/Part II และ ARB/Part III เรียนที่ไหนดี ?

เมื่อจบจบปริญญาตรี หรือ Diploma แล้วได้ ARB/RIBA Part I มาแล้ว การเรียนต่อ ARB/RIBA Part II สามารถเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันเดิมก็ได้ หรือจะเปลี่ยนที่ก็ได้ ขอแค่เป็นที่ที่ได้รับการรับรองก็พอครับ

ส่วน ART/RIBA Part III ก็เช่นกัน เราสามารถไปสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์กับที่ไหนก็ได้ที่สามารถจัดการสอบวัดผลได้ อย่างไรก็ดี อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าก่อนจะไปถึงจุดนั้น ต้องมีประสบการณ์การทำงานมาแล้วหลังจบ ARB/RIBA Part II ไม่ต่ำกว่า 24 เดือน ซึ่งต้องเป็นที่ฝึกงานที่ได้รับการยอมรับเช่นกัน ตรงนี้ต้องตรวจสอบและวางแผนดี ๆ ครับ

และทั้งหมดนี้ คือข้อมูลคร่าว ๆ ของเส้นทางการเป็น Architect ที่อังกฤษครับ คำแนะนำที่อยากจะฝากไว้มากที่สุดก็คือ ลองเข้าไปศึกษาเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ที่เปิดสอบ รวมถึงเข้าไปอ่านข้อกำหนดต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของ ARB และ RIBA ด้วยนะครับ จะได้เตรียมตัวได้อย่างถูกต้องครับ

สุดท้าย เส้นทางนี้ดูเหมือนจะยาว แต่ถ้านี่คือสิ่งที่ใช่และเรา Born to be จริง ๆ แล้ว เวลาเหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นเลยครับ ขอให้ทุกคนที่ Born to be ที่จะเป็น Architect จริง ๆ ประสบความสำเร็จกันทุกคนนะครับ