ครูจ๋อมแจ๋ม ครูเดียร์ ครูปุ้ม และ ผม ได้มีโอกาสคุยกับคุณ Yasmin Sarwar บุคคลสำคัญที่ช่วยให้ Oxford International College หรือ OIC มีนักเรียนสอบติด Top Uni ที่อังกฤษจำนวนมากมายทุกปี เกี่ยวกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นกับเด็กอินเตอร์ของเรา ว่าทำไมดูเหมือนว่าการเข้า Top Uni มันยากกว่าแต่ก่อนมาก เราเริ่มเจอเด็กเกรดดี profile ดี หลาย ๆ คน ถูกปฏิเสธจาก Top Uni ในเวลาเพียงไม่นานหลังจากยื่นสมัครไป นั่นเลยทำให้เราสงสัยว่า มันมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปใช่ไหม

คำตอบคือ ใช่

เด็กอินเตอร์เข้ายากขึ้น เพราะนโยบายของประเทศอังกฤษ

คุณ Yasmin เล่าให้เราฟังว่า เป็นนโยบายของประเทศอังกฤษ ที่ต้องการให้ทุกที่ ไม่ใช่แค่ Top Uni ต้องคัดเลือกคนเข้ามาเรียนตามแนวทางที่เรียกว่า Widening Participation

Widening Participation หมายถึง คนที่จะเข้ามาเรียนในแต่ละ University นั้นต้องมีความหลากหลาย ทั้งเรื่องของเชื้อชาติ พื้นฐานครอบครัว และองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง แปลง่าย ๆ คือ โอกาสนั้นต้องเท่าเทียมสำหรับทุกคน นั่นทำให้แต่ละ University โดยเฉพาะ Top Uni นั้นต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางการในการรับคนเข้ามาเรียนใหม่ เดิมทีคนที่จะเข้ามาเรียน Top Uni ได้มักจะมาจากโรงเรียนเอกชน (Independent School) ที่มีความสามารถสูงและได้รับการ support เป็นอย่างดี แต่เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม Top Uni จะต้องรับเด็กจากที่ที่มีโอกาสน้อยให้มากขึ้น และนั่นหมายถึงนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาล (State School) ต้องมีโอกาสได้เข้าไปเรียนมากขึ้น

ถามว่าเรื่องนี้กระทบกับเด็กอินเตอร์ของเรา ทั้งที่เรียนอยู่ในไทย และเรียนอยู่ในอังกฤษอย่างไร คำตอบก็คือ เด็กเราจะถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มที่ถือว่ามีโอกาสดีอยู่เสมอ (แม้จะอยู่ในประเทศไทย ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสดี) เว้นแต่ว่าเด็กของเราจะอยู่ในโรงเรียน State School ของประเทศอังกฤษ ซึ่งโอกาสก็มีน้อยมากที่จะเป็นเช่นนั้น เพราะส่วนใหญ่โรงเรียนที่เด็กอินเตอร์อย่างเรา ๆ จะได้อยู่ในอังกฤษจะเป็น Independent School เสียเป็นส่วนใหญ่

โอกาสของเด็กใน State School ของประเทศอังกฤษ มากขึ้นเพราะอะไร

เพื่อให้โอกาสของเด็ก ๆ ใน State School ในประเทศอังกฤษมากขึ้น University ต่าง ๆ รวมถึง Top Uni ต้องปรับเกณฑ์การรับเข้าให้แบ่งตามกลุ่มของเด็ก ๆ ที่สมัครเข้ามา

ในหลาย ๆ University ถ้าเราไปดูที่หน้าเว็บไซต์ของเขา เราจะเห็นว่าเกรดที่ต้องทำได้หรือ Offer นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ Offer ปกติ และ Contextual Offer โดยที่ Offer ปกตินั้นคือสำหรับคนทั่ว ๆ ไป และ Contextual Offer นั้นสำหรับคนที่ด้อยโอกาสหรือมาจาก State School เป็นหลัก

ยกตัวอย่างเช่น ใน University แห่งหนึ่ง อาจกำหนดว่า เด็กต้องได้เกรด A*AA ในกรณีทั่ว ๆ ไป แต่ถ้ามาจาก State School เด็กทำได้แค่ A*AB หรือ AAA ก็สามารถเข้าไปเรียนได้

ส่วนในเรื่องของขั้นตอนการคัดเลือกนั้น คุณ Yasmin เล่าให้เราฟังว่า บาง University มีวิธีการ Interview ที่ไม่เหมือนกันสำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มปกติ กับเด็กที่มาจาก State School ก็คือถ้ามาจาก State School ขั้นตอนการ Interview จะง่ายกว่า ความคาดหวังในการตอบคำถามได้หรือทำได้ดีที่สุดจะน้อยลง ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสมากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ Admissions Tests ที่เกณฑ์สำหรับเด็ก ๆ จาก State School จะเป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่าเด็ก ๆ ที่มาจาก Independent School เป็นต้น

ไม่ใช่แค่เรื่องของเกณฑ์ที่ต่ำลง แต่ State School ยังได้รับการ Support จาก Top Uni โดยตรงอีกด้วย

คุณ Yasmin เล่าว่า Oxford Cambridge และ Top Uni หลาย ๆ แห่งจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า Outreach Programme ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือเด็ก ๆ ใน State School ในเรื่องของการเตรียมตัวเพื่อสมัครเรียนต่อ ยกตัวอย่างเช่น จะมีการฝึกเรื่องของการ Interview ให้ หรือการเข้าไปให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการเขียน Personal Statement หรือการทำ profile ต่าง ๆ

Outreach Programme นี้เป็นความตั้งใจของ Top Uni ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับเด็กจาก State School มากขึ้น ซึ่งก็ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า โอกาสคงมากขึ้นจริง ๆ เพราะนอกจากจะลดเกณฑ์การรับเข้าให้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเข้าไปช่วยให้การ support ถึงที่อีกด้วย

และนั่นหมายถึง โอกาสของเด็กอินเตอร์อย่างเรา ๆ ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดครับ

แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับคนที่มีความพร้อม

เราถามคุณ Yasmin ว่า แล้วเด็ก ๆ อินเตอร์ที่เรากำลังเตรียมอยู่ จะทำอย่างไรกันดี คุณ Yasmin ยิ้ม แล้วบอกว่า “ทำเหมือนเดิม”

คำว่าทำเหมือนเดิมของคุณ Yasmin หมายถึง เราก็ต้องมุ่งมั่นตั้งใจเหมือนเดิม สุดท้ายที่นั่งที่ว่างอยู่อาจจะลดลง แต่เราจะมีทางเลือกอะไรอีกนอกจากก็ต้องทำให้ดีที่สุดเท่านั้น

คุณ Yasmin ให้คำแนะนำว่า เด็ก ๆ ควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ หัดอ่านหนังสือ หัดหาความรู้ในด้านที่ตัวเองสนใจตั้งแต่เล็ก ๆ ฝึกฝนทักษะในการอ่าน การตีความ การวิเคราะห์ ตั้งแต่เด็ก ๆ อ่านหนังสือและทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย สนใจใฝ่รู้ให้ลึกมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ในเรื่องที่ตัวเองต้องการ

อย่างเด็กที่ Oxford International College ที่เตรียมตัวมาดีแล้ว พอมาได้รับการ support เพิ่มเติมที่นี่ ในเรื่องของ Career Advice การทำ UCAS Application และการสอบวัดผลตัวเองอยู่เสมอด้วย Saturday Exam สุดท้ายแม้จะไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มด้อยโอกาส แต่ก็ยังสามารถสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเข้า Top Uni ได้ด้วยตัวเอง

บทสรุปในเรื่องนี้คือ เราแค่ต้องรู้ว่าเกมมันเปลี่ยนไป โอกาสในภาพรวมมันมีน้อยลง แต่ถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจ เตรียมตัวดี ๆ และเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดที่จะช่วยสนับสนุนเราได้ สุดท้ายการเข้า Top Uni ก็ยังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับเราเสมอครับ

ถ้าอยากหาโรงเรียนดี ๆ ที่พาเราไปถึงเป้าหมายได้ เข้ามาพูดคุยกันนะครับ