ผู้เขียนเข้าเรียนระดับปริญญาโท สถาบันครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ในเดือนเมษายนนี้ ในบทความ ไดอารี่ TODAI เราจะแนะนำชีวิตประจำวันในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นในมุมมองนักศึกษา

TODAI (โทได) หรือ 東大 เป็นคำย่อยของ Tokyo Daigaku (東京大学) แปลว่ามหาวิทยาลัยโตเกียว

***

บางทีผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงได้มาเรียนที่นี่ เอกภาษาไทยมา 5 ปี รวมช่วงเวลาที่เคยเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน ทำให้ต้องการจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาและชนกลุ่มน้อยในสังคมไทยต่อเนื่อง สุดท้ายแล้ว ผมก็มาข้างหน้าอาคารรูปแบบกอทิกในศูนร์กลางกรุงโตเกียว

ตอนนี้ผมอยู่ในระดับปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ทางการศึกษา สถาบันครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว อาคารคณะอยู่ข้างหลังห้องสมุดกลาง ใกล้กับประตูสีแดงหรือ 赤門 (อากามน) ซึ่งเป็นแหล่งเก่าชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยนี้ แต่เขายังไม่ได้เปิดเพื่อปกป้องตัวจากความเสียหายของแผ่นดินไหว

ประตูแดง ดอกซากุระที่เกือบล่วงไปแล้วก็ยังมีความงามดี (ผู้เขียนถ่าย)

สาขาของผมมีลักษณะในการวิเคราะห์วิจารณ์การศึกษาเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม โดยสอดคล้องนัยยะของสังคมศาตร์ เช่น สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

บางคนสนใจกระบวนการณ์การการคัดเลือกและการจัดสรรในโรงเรียนและระบบการศึกษา บางคนทำงานวิเคราะห์ความเป็น “แม่ที่ดี” ในระเบียบวินัยสังคมญี่ปุ่น บางคนเข้าไปสู่ชุมชนชาวต่างชาติในโตเกียวและรับฟังความยากลำบากในการเรียนรู้ในโรงเรียนญี่ปุ่นสำหรับต่างชาติ

ส่วนผมสนใจกับการเลือกเส้นทางของนักศึกษาชนกลุ่มน้อยในสังคมไทย ผมได้เริ่มสนใจสาขานี้ในตอนอ่านหนังสือวิชาการในห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสาขานี้มีอาจารย์ที่เราชอบอ้างอิงวิทยานิพนธ์ของเขา

ก่อนหน้านั้น ผมไม่เคยนึกว่าจะเกี่ยวค่องข้องกับมหาวิทยาลัยโตเกียวสักนิดเดียว ย้อนกลับแล้ว ยังรู้สึกแปลกที่เรามาเรียนกับนักศึกษาโทได แต่แอบไม่สงสัยไม่ได้ สมมติว่าได้โอกาสมาเดินระหว่างอาคารเก่ารูปแบบกอทิกที่นี่ในสมัยนักเรียน ม.ปลาย ผมก็ต้องการจะมาเรียนที่โทไดหรือเปล่า เหมือนเด็กที่ได้ไปถึงหน้า Radcliffe Camera ได้เริ่มไฝ่ฝันจะอ่านหนังสือใน College สักแห่งหนึ่งของ Oxford

อาคารรูปแบบกอทิก ถ่ายขึ้นด้วยใบไม้สีเขียนสดใส (ผู้เขียนถ่าย)

เข้ามาสาขานี้แล้ว ได้รู้ว่านักศึกษาปริญญาโทที่ได้จบสำเร็จในระดับปริญญาตรีของโทไดไม่มากสักเท่าไร ปี 1 ในปริญญาโทหรือ M1 (Master 1) ของรุ่นเราล้วนมี 13 คน เพื่อนที่มาจากโทไดมีแค่ 4 คน อีกทั้ง 3 ใน 13 คนเป็นนักศึกษามาจากต่างประเทศ เช่น จีน มองโกเลียใน และ สวีเดน

มีอาจารย์ 6 คน ความเชี่ยวชาญของแต่ละคนมีความหลากหลายจากสังคมวิทยาถึงพัฒนศึกษา แต่แน่นอนว่าใช้นัยสังคมศึกษาเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่น่าสนใจก็คือ อาจารย์ทุกคนสนิทานกันอย่างมาก เหมือนนักศึกษาที่เรียนห้องเดียวกัน

ปกตินักศึกษาในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นจำเป็นต้องเลือก Lecturer หรือผู้ดูแลการวิจัยคนเดียว เข้าร่วมสัมมนาของอาจารย์คนนั้น อาจารย์คนนั้นจะดูแลการวิจัยของนักศึกษาคนนั้น ส่วนที่นี่ไม่ค่อยมีวัฒนธรรมที่อาจารย์เพียงคนเดียวนั้นดูแลนักศึกษาคนเดียว แน่นอนว่าต้องเลือก Lecturer คนเดียวก็จริง แต่อาจารย์แนะนำให้นักศึกษาเข้าร่วมสัมมนาของอาจารย์คนอื่นอีกด้วย จะได้ความสั่งสอนจากอาจารย์ตั้ง 6 คนได้ด้วย

ข้างในอาคารคณะครุศาสตร์ ดูเหมือนว่าทุกคนชอบวางร่มไว้ที่นี่ในวันที่ฝนตก (ผู้เขียนถ่าย)

การเรียนที่นี่ส่วนใหญ่เป็น “การอ่าน” ในคาบวิชาแต่ละคาบ นักศึกษาจะคุยเนื้อหาในหนังสือหรือวิทยานิพนธ์ที่ได้อ่านมา เพราะฉะนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องอ่านวิทยานิพนธ์อาทิตย์ละ 10-12 ชิ้น ในคาบวิชาคาบหนึ่ง อาจารย์ให้เราอ่านหนังสือวิชาการอาทิตย์ละหนึ่งเล่ม ประมาณ 300-600 หน้า อ่าน อ่าน เขียน เขียน และคุยกัน วัฎจักรแบบนี้ให้เราฝึกวิธีใช้สมองแบบ critical เสมอ บอกได้ว่าทักษะฝีมือการอ่านและอ่านเขียนในภาษาญี่ปุ่นเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนที่นี่ มากกว่าการพูด

วันนี้ก็อ่าน พรุ่งนี้ก็อ่าน…ต่อเนื่อง

ในบทความ ไดอารี่ TODAI ผมจะแนะนำวิถีชีวิตในมหาวิทยาลัยที่นี่ต่อนะครับ

มหาวิทยาลัยระดับสูงต้องมีเหตุผลที่ได้เปล่งผู้จบสำเร็จด้วยมีคุณสมบัติดี หากคุณสนใจวิถีชีวิตแบบโทได APSthai ยินดีต้องรับเสมอครับ

ทำไมต้อง Study in Japan? เชื่อว่าหลายคนที่มีความชื่นชอบในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ไม่ว่าจะผ่านการฟังเพลง การอ่านมังงะ หรือดูโดราม่าก็ตาม มีความใฝ่ฝันว่าสักครั้งในชีวิตอยากไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทำให้ในทุก ๆ ปี ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นจุดหมายปลายทางแรก ๆ ในเอเชียที่คนไทยอยากไปเรียนภาษาระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น หรืออยากไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในทวีปเอเชียก็ตาม แต่วัฒนธรรมนั้นก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากประเทศไทยอย่างมาก เพื่อให้คนที่สนใจจะไปร่ำเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นได้รู้ประเทศญี่ปุ่นอย่างลึกก่อนตัดสินใจไป ทาง APSthai เลยโครงการ Study in Japan ที่จะช่วยให้คำแนะนำเรื่องการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (Study in Japan) ให้กับบุคคลที่มีความสนใจ โดยจะเขียนบทความเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจทั้งในด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น และการศึกษาญี่ปุ่นต่อไป