นอกเหนือไปจาก Predicted grade ที่สูง คะแนนสอบ AS-level ที่ดี และคะแนนสอบ IGCSE ที่โดดเด่นแล้ว มหาวิทยาลัยดี ๆ ที่อังกฤษนั้นยังให้ความสำคัญกับเรื่องของความ Born to be ของนักเรียนมาก ๆ ด้วยการพยายามจะตรวจสอบให้ได้ว่า นักเรียนมีความเหมาะสมกับคอร์สที่กำลังจะสมัครเรียนอย่างไร ซึ่งอย่างที่เคยกล่าวไปแล้วในตอนก่อน ๆ ว่า 4 อย่างที่ใช้วัดความ Born to be ของนักเรียนในมุมมองของมหาวิทยาลัยนั้น ได้แก่
- Personal Statement
- Reference
- Admissions/Extra Tests
- Interview
ซึ่งสำหรับ Admissions/Extra Tests และ Interview นั้นจะเป็นขั้นตอนที่อาจจะไม่ได้มีในบางคอร์ส ในบางมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่มีแน่ ๆ และใช้เป็นตัวชี้วัดแน่ ๆ ในทุก ๆ คอร์สและทุก ๆ มหาวิทยาลัยดี ๆ ที่อังกฤษ นั่นก็คือ Personal Statement และ Reference นั่นเอง
เรื่องที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ คนส่วนมากไม่คิดว่า 2 สิ่งนี้มีความสำคัญ หรือต่อให้รู้ว่าสำคัญแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถเตรียม Personal Statement และ Reference ออกมาได้อย่างที่ควรจะเป็น ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า Personal Statement และ Reference ที่ดีนั้น ต้องเป็นอย่างไร และสิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยนึกมาก่อนก็คือ 2 สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมกันและกันได้อย่างไรบ้าง
เริ่มที่ Personal Statement ก่อน
Personal Statement คือการเขียน Essay ความยาวไม่เกิน 4,000 ตัวอักษร เพื่อโน้มน้าวจูงใจมหาวิทยาลัยที่เรากำลังจะเลือกว่าเรามีความ Born to be ในสิ่งที่เรากำลังจะสมัครเรียนอย่างไร ซึ่งสิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ 4,000 ตัวอักษรนั้นถือว่าน้อยมาก ๆ ถ้าลองพิมพ์ออกมา มันจะยาวประมาณกระดาษ A4 แค่หน้าเดียว คำถามคือเราจะเล่าเรื่องทั้งชีวิตของเราให้เหลือแค่ ไม่เกิน 4,000 ตัวอักษรแล้วคมชัดตรงประเด็น และแสดงความ Born to be ให้โดนใจมหาวิทยาลัยที่เราจะเลือกได้อย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนั้น Personal Statement จึงไม่ใช่ Essay ที่สามารถเร่งเขียนให้จบได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ เพราะมันต้องผ่านการไตร่ตรอง การแก้ไข การเพิ่มเติมสิ่งต่าง ๆ เข้าไปจนกว่าจะได้ version ที่ดีที่สุด โรงเรียนดี ๆ ในประเทศอังกฤษบางแห่ง ให้นักเรียนเริ่มเขียน Personal Statement ฉบับแรกตั้งแต่ Year 10 แล้วค่อย ๆ พัฒนาทุกปี ๆ จนวันที่ต้องใช้สมัครมหาวิทยาลัยจริง ๆ ก็พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที เพราะฉะนั้น ใครอ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าขึ้น Year 10 แล้ว เริ่มลงมือเขียนได้เลยนะครับ คิดภาพว่าเราจะจูงใจมหาวิทยาลัยที่เราต้องการในคอร์สที่เราต้องการให้รับเราเข้าไปเรียนได้อย่างไร จากการแสดงความ Born to be ของเรา
ทีนี้การแสดงความ Born to be นั้น คือการเขียนถึงอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่สมควรจะเขียนลงไปครับ
- ทำไมถึงอยากเรียนคอร์สนี้ (Why) ? ซึ่งเหตุผลที่ดีที่สุดที่ควรตอบลงไป ต้องเป็นเหตุผลที่มาจากการพิจารณาไตร่ตรองของตัวเอง จากสิ่งที่ตัวเองเจอมา เรียนรู้มา ไม่ใช่จากคนอื่นหรือปัจจัยอื่น เช่น ไม่ใช่ว่าคุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียน หรือไม่ใช่ว่าคอร์สนี้น่าจะทำให้เรียนจบแล้วมีอาชีพการงานที่มั่นคง ถ้าเขียนอะไรแบบนี้ไป มหาวิทยาลัยไม่รับแน่นอน นี่อาจจะเป็นคำถามที่เขียนออกมาได้ยากที่สุด แต่ค่อย ๆ หาเหตุผลแล้วตกผลึกออกมาครับ
- เราทำอะไรมาแล้วบ้าง เรามี skills อะไรบ้าง ที่บอกว่าเราเหมาะสมกับการเรียนสิ่งนี้ (What) ? ซึ่งอาจแบ่งย่อย ๆ ได้หลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น
- Skills ที่เรามี และเป็น Skills ที่จำเป็นสำหรับคนที่จะเรียนคอร์สนี้และทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอร์สนี้
- Work experience ที่แสดงว่าเราได้ทำอะไร เรียนรู้อะไร และพัฒนา Skills ของตัวเองอย่างไร
- Summer course ต่างประเทศที่เราเคยเข้าร่วม โดยให้เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับ สิ่งที่ได้ลงมือทำ และสิ่งที่ได้พัฒนาตนเอง
- หนังสือที่เราอ่าน เพื่อแสดงความสนใจในสิ่งที่เรากำลังจะสมัครเรียน รวมถึงประเด็นสำคัญที่เราได้จากการอ่านหนังสือนั้น ๆ
- การทำวิจัยต่าง ๆ (Personal research) ในหัวข้อที่เราสนใจ เพื่อแสดง Skills ในการทำ research และแสดงให้มหาวิทยาลัยเห็นว่าเรารักที่จะค้นคว้าหาคำตอบต่าง ๆ ในเรื่องที่เราสนใจจริง ๆ
- วิชาต่าง ๆ ที่เรียนที่โรงเรียน ว่ามีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับสิ่งที่จะสมัครเรียนอย่างไร
- กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน ว่ามีความสัมพันธ์กับคอร์สที่กำลังสนใจอย่างไร
- จริง ๆ แล้วอาจจะยังมีอีกหลายประเด็นที่สามารถเล่าลงไปใน Personal Statement ได้ สำคัญที่สุดคือ อย่าเล่าแค่ว่าไปทำอะไรมา แต่ให้เล่าว่าจากสิ่งที่ได้ทำ เกิดการเรียนรู้อะไร เกิดการพัฒนา Skills อะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับคอร์สที่จะสมัครเรียนอย่างไร
- อนาคตจะไปทำอะไรต่อ (What’s next)? ถ้าเราสามารถคิดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต แล้วเล่าให้มหาวิทยาลัยได้รับรู้ได้ว่าเรามีความตั้งใจว่าอย่างไร หลังจากที่เราได้เข้าไปเรียนหรือเรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว นั่นจะเป็นการตอกย้ำให้มหาวิทยาลัยได้รู้ว่า เรามีความชัดเจนในสิ่งที่เรา Born to be อย่างไร ก็ขอให้ลองไปจินตนาการสิ่งนี้กันดูนะครับ
Personal Statement ยากที่สุดที่ version แรก ที่ draft แรกที่จะถูกเขียนออกมา เพราะทุกอย่างยังอยู่ในความคิดของเรา มันอาจจะสับสน มันอาจจะดูวุ่นวาย แต่เมื่อไรที่เราถ่ายทอดอันแรกสุดออกมาได้ เราจะรู้จักตัวเองมากขึ้น เราจะเห็นสิ่งที่เรามี เราจะเห็นสิ่งที่เราขาด แล้วเราจะสามารถพัฒนาต่อยอดจากจุดนั้นได้ จนสุดท้ายเราจะมีเรื่องที่สามารถนำมาเพิ่มเติมหรือแก้ไขใน Personal Statement ให้มันดีขึ้นใน version ถัด ๆ ไปได้
ทีนี้ Reference ที่ดีต้องเป็นอย่างไร ?
Personal Statement คือสิ่งที่เราเขียน ส่วน Reference คือสิ่งที่คนอื่นเขียนเกี่ยวกับเรา และคนอื่นที่ว่านั้นก็คือครูของเรานั่นเอง มันจึงมีแนวคิดที่เหมือนกัน ก็คือ Reference สามารถมีความยาวได้ไม่เกิน 4,000 ตัวอักษร และต้องเป็น essay ที่สามารถโน้มน้าวจูงใจ ให้มหาวิทยาลัยเชื่อได้ว่า นักเรียนคนนี้ที่ครูเขียน Reference ให้นั้น มีความ Born to be ในสิ่งที่กำลังจะสมัครเรียนจริง ๆ
ในเมื่อวัตถุประสงค์ของ Personal Statement และ Reference คือการโน้มน้าวจูงใจให้เห็นว่านักเรียน Born to be เหมือนกัน นั่นหมายความว่า สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ควรเขียนลงไปใน Personal Statement ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเขียนลงไปใน Reference เช่นเดียวกัน ได้แก่การพูดถึง Skills ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง Research ต่าง ๆ ที่นักเรียนทำ Skills ต่าง ๆ จากการเรียนในห้องเรียนของนักเรียน สิ่งที่นักเรียนทำที่โรงเรียน Work experience ต่าง ๆ หรือความสนใจต่าง ๆ ของนักเรียน เพียงแต่ว่ามีประเด็นเพิ่มเติมบางอย่างที่ครูที่เขียน Reference จะต้องทราบ
อย่างเช่น สิ่งที่เขียนใน Personal Statement กับ Reference ต้องเล่าไปในทางเดียวกัน ต้องสนับสนุนนักเรียนไปในทางเดียวกัน ต้องไม่เล่าสิ่งที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน ต้องทำให้มหาวิทยาลัยเชื่อจากทั้ง 2 มุมมองได้ว่า นักเรียนคนนี้มีความ Born to be แบบนี้จริง ๆ
อย่างไรก็ดี การเขียนไปในทางเดียวกัน ไม่ได้แปลว่าให้เขียนซ้ำกัน เพราะการเขียนซ้ำกัน เป็นการทำลายโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้รับข้อมูลบางอย่างเพิ่มเติมที่ไม่สามารถหาได้จาก Personal Statement ที่ควรทำมากกว่า คือการเขียนขยายความในเรื่องที่นักเรียนเขียนใน Personal Statement เช่น ถ้ามีการเล่าใน Personal Statement ถึง Work experience บางอย่างว่าได้ไปทำอะไร เรียนรู้อะไร พัฒนา Skills อะไรมาบ้างแล้ว ใน Reference ก็ควรจะขยายความว่าในมุมของครูและโรงเรียนเราเห็นอะไรที่นักเรียนได้รับจาก Work experience ครั้งนี้บ้าง
นอกจากนี้ ครูที่เขียน Reference สามารถใช้โอกาสนี้ ในการอธิบายเหตุการณ์บางอย่างที่ช่วยทำให้สถานการณ์ของนักเรียนดูดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักเรียนมีคะแนนสอบครั้งหนึ่งที่ไม่ดี แต่สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่านักเรียนไม่สบาย ปกตินักเรียนไม่ควรเขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปใน Personal Statement เพราะ Personal Statement ควรเขียนแต่เรื่องที่เป็น Positive ของตัวเอง แต่สำหรับใน Reference นั้น ครูสามารถเขียนอธิบายลงไปได้ว่าเพราะนักเรียนไม่สบาย คะแนนสอบในครั้งนั้นจึงไม่ดี ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยยอมรับและมองข้ามจุดผิดพลาดหรือเสียเปรียบบางอย่างของนักเรียนได้
สำหรับครูที่จะเขียน Reference ให้นักเรียนนั้น ไม่ได้มีกำหนดเอาไว้ในกติกาว่าต้องเป็นใคร แต่คำแนะนำจาก UCAS และมหาวิทยาลัยดี ๆ ในอังกฤษนั้น บอกเอาไว้ว่า ครูที่จะเขียน Reference จะต้องไปพูดคุยและรวบรวม Reference ย่อย ๆ จากครูทุกคนที่สอนนักเรียนในระดับ A-level หรือ IB ซึ่งครูแต่ละคนจะต้องเขียนตามแนวทางที่แนะนำไว้ข้างต้น เมื่อรวบรวมได้ครบแล้ว ครูคนสุดท้ายที่จะเป็นคนหลักในการเขียน Reference ก็จะเอาของครูทุกคนมาต่อกัน ปรับแต่งเชื่อมโยงให้เหมาะสม แล้วใส่ข้อมูลเพิ่มในมุมของตัวเองเข้าไปด้วย หรืออธิบายสถานการณ์ภาพรวมบางอย่างที่จะช่วยให้มีผลดีต่อนักเรียน เช่น หากโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสกว่าโรงเรียนอื่นด้วยเหตุผลใด ก็สามารถเล่าเข้าไปได้ มหาวิทยาลัยจะนำไปพิจารณาประกอบด้วยเสมอ
Personal Statement กับ Reference จึงไม่อาจแยกออกจากกัน
ทั้ง 2 สิ่งนี้ เป็นงานที่ต้องทำไปควบคู่กัน เพราะฉะนั้นถ้าเราเริ่มเขียน Personal Statement ได้แต่เนิ่น ๆ เราจะมีข้อมูลไปคุยกับครูได้มากขึ้น ครูจะรู้จักเรามากขึ้น ครูก็จะสามารถเขียนสนับสนุนเราใน Reference ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น จงอย่าเขินอายที่จะไปคุยกับครูแต่ละคนที่สอนเรา รวมถึงครูที่ต้องเขียน Reference ในสิ่งที่เรารัก ในสิ่งที่เรา Born to be ในสิ่งที่เราสนใจจะทำต่อไป เพราะยิ่งเขารู้จักเรามากขึ้นเท่าไร มันก็ยิ่งมีประโยชน์และเพิ่มโอกาสให้กับเราได้มากขึ้นเท่านั้น
และอย่าคิดเด็ดขาดว่า Reference เป็นเรื่องของครู เราไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะสิ่งที่เราทำได้ก็คือการทำให้ครูรู้จักเราให้มากที่สุด ว่าเรา Born to be อย่างไร และถ้าเราโชคดีพอที่ได้อยู่ในโรงเรียนที่ดี ที่ครูเขาเข้าใจ เขาก็จะทำหน้าที่ของเขาได้อย่างดีครับ (แต่ถ้าโรงเรียนไม่ดี อาจต้องทำใจ ก็ควรตรวจสอบเรื่องพวกนี้ไว้เนิ่น ๆ นะครับ ว่าครูเขาเข้าใจไหมว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง)
ที่สำคัญอีกเรื่องคืออย่ารอโรงเรียน อย่าคิดว่ารอโรงเรียนประกาศแล้วค่อยเริ่มเขียน Personal Statement อย่าคิดว่ารอโรงเรียนเริ่มพูดเรื่องนี้แล้วค่อยวิ่งไปหาครูไปคุยกับครู ถึงตอนนั้นทุกอย่างอาจจะสายไปแล้ว ทำก่อนก็ได้เปรียบกว่าครับ เพราะฉะนั้นลงมือเขียน Personal Statement เลย และทำยังไงก็ได้ให้ครูรู้จักเราให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องรออะไรทั้งนั้นครับ
สุดท้ายมีนักเรียนเก่ง ๆ จำนวนมาก ที่ได้เกรดดี ๆ ที่คะแนนสูง ๆ แต่โดนปฏิเสธจากมหาวิทยาลัยดี ๆ ในอังกฤษเป็นประจำทุกปี และเหตุผลหลัก ๆ ก็คือการมี Personal Statement และ Reference ที่ไม่ดีพอนี่แหละ เพราะฉะนั้น ใส่ใจทั้ง 2 เรื่องนี้ให้มาก ๆ นะครับ แล้วโอกาสจะยังเป็นของเราครับ