ก่อนจะตัดสินใจไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เรามาดูก่อนว่าคนแบบไหนที่เขาชอบ คนแบบไหนที่เขาเห็นแล้วอยากจะเลือกให้เป็นนักเรียน เพราะแต่ละหลักสูตรก็มีจุดเด่นและความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เพื่อให้เราได้เรียนในสิ่งที่ใช้ การเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เรามาดูกันว่า ‘3 ข้อที่ต้องมีก่อนไปเรียนที่อังกฤษ’ มีอะไรบ้าง? และถ้ายังไม่มีจะต้องเตรียมตัวอย่างไรกันเลยค่ะ

ข้อที่ 1: เด็กต้องค้นหาตัวเองให้เจอและรู้ว่าตัวเอง Born to be ในเรื่องไหน

การหาตัวเองให้เจอ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดถ้าอยากจะเรียนในหลักสูตรอังกฤษ เพราะเราต้องเลือกวิชาที่สอดคล้องกับคณะที่จะเข้าในระดับมหาวิทยาลัย 3-4 วิชาใน A-Level เลย เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้รู้ตัวเอง ก็มีโอกาสที่จะเลือกผิดและเสียโอกาส เสียเวลาได้ เพื่อให้เด็กทุกคนมั่นใจในวิชาที่ตัวเองเลือก หลักสูตรของอังกฤษเลยออกแบบให้เด็กได้มี Stage ในการลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นช่วงเวลาในการ Explore ตัวเอง โดย Stage นี้เริ่มตั้งแต่ก่อนขึ้น Year 9 ก่อนที่จะเลือกวิชา IGCSE จุดสำคัญของช่วงนี้คือเด็กจะต้องเลือกวิชาที่ครอบคลุมกับความถนัดของตัวเอง รวมไปถึงวิชาที่อาจจะเลือกในอนาคตด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจะต้องเรียน IGCSE ตั้ง 9-11 วิชา โดยวิชาที่เราแนะนำให้เลือกก็จะเป็นวิชาหลัก 5 วิชา เช่น Mathematics, Chemistry, Biology, Physics และ English และให้เลือกวิชาอื่นให้ครอบคลุมทั้งในด้าน Creativity เช่น Art and Design และ Design Technology และวิชาด้าน Social Science Subjects อย่างเช่น Econnomics, History, Business เป็นต้น โดยทั้งนี้แต่ละคนก็จะมีวิชาที่เลือกที่แตกต่างกัน เราเลยแนะนำให้เด็กแต่ละคนทำ Career Test ก่อนขึ้น Year 9 เพื่อให้รู้ว่าวิชาใน IGCSE ไหนบ้างที่เหมาะสมกับเรา เราเรียก Stage นี้ ว่า ‘Explore’ อีกทั้งเพื่อให้เรามั่นใจจริง ๆ ว่าเราจะเรียนคอร์สไหน เราต้องทำกิจกรรมที่นอกเหนือจากห้องเรียนแต่เน้นไปที่ด้าน Career อย่าง Super-Curricular Activities เช่น การไป Summer School ที่เน้นด้าน Career ไป Work Experience เป็นต้น เมื่อได้เรียนในชีวิตที่ควรเรียน ได้ไปทำกิจกรรมที่ควรทำ เด็ก ๆ ก็จะมีช่วงเวลาได้ศึกษาตัวเองก่อนขึ้น A-Level ว่าตัวเองเหมาะสมกับอะไรตั้ง 3 ปี การหาตัวเองให้เจอหรือรู้ว่าตัวเอง Born to be อะไรเลยไม่ใช่สิ่งที่เกินจริง หากแต่ถ้าไม่ได้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เด็กก็จะขาด Stage ของการ Explore ไปและทำให้มีโอกาสเลือกผิดได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยาก ค้นหาตัวเองให้เจอและรู้ว่าตัวเอง Born to be ในเรื่องไหน ก็ควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนขึ้น Year 9 และใช้เวลาหลังจากนั้นในการตอบคำถามตัวเองค่ะ

ข้อที่ 2: เด็กที่ Self-Study ได้ด้วยตัวเองและรู้ว่าตัวเองอยากจะทำอะไร

เมื่อหาตัวเองเจอแล้ว เมื่อรู้ Passion ตัวเองเจอแล้ว เป็นเรื่องง่ายมากที่เราก็อยากจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ อยากจะศึกษาให้ลึก อยากจะรู้เรื่องที่สนใจมากขึ้นจนถึงขั้นนอนก็คิดถึง กินก็คิดถึง ไม่ว่าจะทำอะไรก็คิดถึง นั้นคือคนในแบบที่มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษต้องการ เพราะฉะนั้นหลักสูตรนี้จึงค่อย ๆ ฝึกให้เด็กแต่ละคนรู้จักการศึกษาด้วยตัวเองตั้งแต่ในระดับ IGCSE โดยที่แบ่ง ดังนี้

จากภาพจะเห็นว่าในระดับ IGCSE อัตราส่วนของ Teacher ต่อ Student จะอยู่ที่ 80:20 ในช่วงนี้ Teacher จะสอนเยอะ เน้นให้ความรู้เป็น Lecture มากกว่า แต่เมื่อขึ้นไปในระดับ A-Level ในช่วง Year 12 แล้ว Teacher ต่อ Student จะเปลี่ยนไปจากร้อยละ 80:20 เป็น 60:40 และใน Year 13 อัตราส่วนของ Teacher ต่อ Student จะลดลงเหลือ 40:60 และเมื่อขึ้นไปในระดับมหาวิทยาลัยจะเหลือแค่ 20:80 เพราะฉะนั้นเด็กจะต้องศึกษาด้วยตัวเองมากขึ้นเมื่ออยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้น ถ้าใครที่เรียนอยู่ในหลักสูตรอังกฤษอยู่แล้วแต่ไม่เคยได้ฝึกทักษานี้เลย เมื่อไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้นก็จะเกิดความยากลำบากในการปรับตัวแน่นอน และถ้าใครที่เพิ่งเข้ามาในหลักสูตรนี้ ไม่ว่าจะในช่วง A-Level หรือ University แล้วยังไม่เคยฝึกในด้านนี้มาก่อน ควรจะเริ่ม Self-study มากขึ้นเพื่อให้ทันกับรูปแบบในการสอนที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เราอยู่รอดในหลักสูตรนี้ค่ะ

ข้อที่ 3: เด็กที่มี Consistency กับเรื่องที่ตัวเองสนใจ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าหลักสูตรนี้ตเองการเด็กที่ Born to be และ Self-study ในเรื่องที่ตัวเองสนใจ เพราะฉะนั้นเขาชอบเด็กที่มีความสม่ำเสมอหรือ Consistency ค่ะ เพราะถ้าลองเปรียบเทียบกันเด็ก 2 คน คนแรกสนใจเรื่องนี้มาตั้งแต่เรียน IGCSE ได้ไปเรียน Summer ไปทำ Work Experience ทำเกรด IGCSE ในวิชาที่ตัวเองสนใจได้ดี และมีมาตรฐานที่ดีมาตลอดจนขึ้นมหาวิทยาลัย กับคนที่ 2 ที่ตอนเรียน IGCSE ก็ได้เรียนวิชาที่ไม่ได้ถนัด เลือกมาแบบไม่รู้ ทำให้เกรด IGCSE ไม่ดี แต่เพิ่งมารู้ตัวเองว่าชอบวิชานี้จึงเพิ่งมาตั้งใจเรียน เพิ่งมาเริ่มสนใจไป Summer ไปทำ Work Experience ในด้านนั้น ๆ แน่นอนว่าเด็กทั้งคู่จะมีโปรไฟล์ที่ดีในการยื่น UCAS แต่ถ้าทางมหาวิทยาลัยต้องเลือกเด็ก 2 คนนี้ที่มี Profile เท่ากัน เขาย่อมเลือกคนที่มีความคงเส้นคงวาในการเรียนมากกว่าเข้ามาเรียน เพราะฉะนั้นถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ใช่อยู่แล้ว เราก็จะมี Passion ในการเรียนด้วยตัวเองไปโดยไม่สิ้นสุดและมีใครมาบอก แต่ถ้าเมื่อไรที่เริ่มรู้สึกว่าขี้เกียจ ไม่อยากเรียน รู้สึกยากลำบากที่ไม่ได้เกิดมาจากในด้านของวิชาที่เรียน แต่เป็นการหมด Passion ในการเรียนแบบนั้น ให้ตั้งขอสังเกตได้ว่าเราอาจจะเรียนในสิ่งที่ไม่ใช่เราอยู่ วิธีง่าย ๆ ก็คือกลับไปหาข้อแรก ไปหาตัวเองให้เจอแล้วทุกอย่างก็จะเป็นไปในแบบที่ควรเป็น

ใครที่ยังหาตัวเองไม่เจอมาให้ APSthai ช่วยหาและให้คำปรึกษานะคะ