ทำไมต้อง Study in Japan? เชื่อว่าหลายคนที่มีความชื่นชอบในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ไม่ว่าจะผ่านการฟังเพลง การอ่านมังงะ หรือดูโดราม่าก็ตาม มีความใฝ่ฝันว่าสักครั้งในชีวิตอยากไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทำให้ในทุก ๆ ปี ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นจุดหมายปลายทางแรก ๆ ในเอเชียที่คนไทยอยากไปเรียนภาษาระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น หรืออยากไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในทวีปเอเชียก็ตาม แต่วัฒนธรรมนั้นก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและมีความแตกต่างจากประเทศไทยอย่างมาก เพื่อให้คนที่สนใจจะไปร่ำเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นได้รู้ประเทศญี่ปุ่นอย่างลึกก่อนตัดสินใจไป ทาง APSthai เลยโครงการ Study in Japan ที่จะช่วยให้คำแนะนำเรื่องการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (Study in Japan) ให้กับบุคคลที่มีความสนใจ โดยจะเขียนบทความเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจทั้งในด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น และการศึกษาญี่ปุ่นต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศในเอเชียอันดับต้น ๆ ที่คนไทยนิยมไปเที่ยวกันอยู่เสมอ ถ้าหากพูดถึงตอนนี้แล้ว มีคนไทยไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกันเยอะมากค่ะ ไม่ว่าจะจังหวัดไหน ก็จะเจอคนไทยอยู่บ้างไม่มากก็น้อย แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ปวดหัวเลยก็คือ ‘รถไฟ’ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีหลายสายมาก และซับซ้อนมากจนอาจจะหลงได้ถ้าไม่ได้ศึกษาอย่างดี ตอนที่ผู้เขียนมาที่ญี่ปุ่นแรก ๆ ก็สับสนและปวดหัวทุกวัน เพราะนอกจากจะมีหลายสายแล้ว ชานชาลาที่ขึ้นก็ไม่เหมือนบ้านเรา ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจอยู่เป็นอาทิตย์เลยค่ะ ในบทความนี้ ก็เลยจะพามารู้จักรถไฟสายหลัก ๆ ในโตเกียวอย่าง ‘รถไฟบนดินของกลุ่มรถไฟญี่ปุ่น (JR)’ กันค่ะ มีกี่สาย? แล้วแต่ละสายไปที่ไหนบ้าง? จะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าเวลาเราจะเติมเงิน หรือว่าซื้อตั๋วต่าง ๆ หน้าตาของตู้จำหน่ายตั๋วจะเป็นอย่างไร หน้าตาอาจจะแตกต่างกันแต่ละสาย แต่ว่าจะประมาณนี้ค่ะ ให้สังเกตคำว่า ‘Kippu (きっぷ)’ นะคะ จะเป็นส่วนของที่จำหน่ายตั๋ว หากมีบัตรอยู่แล้วให้ไปตู้ที่เขียนว่า Charge ค่ะ

โดยบัตรที่ใช้สำหรับการขึ้นรถไฟในโตเกียวจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ Suica และ Pasmo

ภาพจาก https://www.izukyu.co.jp.e.qj.hp.transer.com/train/suica.php

ภาพจาก www.jreast.co.jp
ภาพที่เห็นอยู่ด้านบนคือสายรถไฟของกลุ่ม JR ที่วิ่งอยู่ในเมืองโตเกียวนะคะ ถ้ามองเผิน ๆ จะเห็นว่ามีความซับซ้อนและยิบย่อยอยู่มาก แต่ที่จริงแล้ว สาย JR จะมีสายหลัก ๆ ที่วิ่งอยู่ในโตเกียวมีอยู่ 4 สายด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- Yamanote Line
- Keihin-Tohoku Line
- Chuo Line
- Saikyo Line
Yamanote Line (中央線)

ภาพจาก www.jreast.co.jp
ถ้าสังเกตดี ๆ แล้ว Yamanote Line เป็นสายที่วิ่งเป็นวงกลม และเชื่อมต่อกับส่วนต่าง ๆ ของเมืองเอาไว้ค่ะ สายนี้จะจอดทุกสถานี เพราะฉะนั้นจะมีแค่แบบ Local เท่านั้นค่ะ โดยแบ่งได้อีกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
- North side: Nippori – Nishi-Nippori – Tabata – Komagome – Sugamo – Otsuka – Ikebukuro – Mejiro
- West side: Takadanobaba – Shin-Okubo – Shinjuku – Yoyogi – Harajuku – Shibuya – Ebisu – Meguro – Gotanda
- South side: Osaki – Shinagawa – Takanawa Gateway – Tamachi – Hamamatsucho – Shimbashi – Yurakucho
- East side: Tokyo – Kanda – Akihabara – Okachimachi – Ueno – Uguisudani

รถไฟ Yamanote Line ภาพจาก www.jreast.co.jp
เวลาที่เราจะไปที่ไหน ให้เช็คชานชาลาให้ดีนะคะ จะขอยกตัวอย่าง เช่น ขึ้นจากสถานี Takadanobaba เพื่อจะไปสถานี Shibuya เวลาเราดูชานชาลา ให้ดูว่าชานชาลานั้นมุ่งหน้าไปทางไหน อย่างถ้าจะไปสถานี Shibuya จากสถานี Takadanobaba ก็ต้องไปชานชาลาที่เขียนว่า For Shinjuku/ Shibuya ค่ะ ถึงแม้ว่า Yamanote Line จะดูวนเป็นวงกลมและไม่น่าหลง ผู้เขียนเองก็เคยหลงมาแล้วนะคะ เพราะว่าเช็คไม่ดี เพราะฉะนั้นให้ดูชานชาลาให้ดี ก็จะทำให้เราเดินทางอย่างสะดวกสบายมากขึ้นค่ะ และที่สำคัญอีกเรื่องคือรถไฟ Yamanote Line ไม่ได้วิ่งทั้งคืน เพราะฉะนั้นควรเช็คเวลารอบสุดท้ายที่รถไฟวิ่งให้ดีก่อนจะดีกว่าค่ะ
Keihin-Tohoku Line (京浜東北線)

ภาพจาก www.jreast.co.jp
รถไฟ Keihin-Tohoku Line เป็นอีก 1 สายที่มีความสำคัญมากในโตเกียวค่ะ โดยรถไฟสายนี้จะวิ่งตั้งแต่สถานี Yokohama ไปจนถึงสถานี Omiya โดยมี 2 แบบคือ Local และ Rapid ค่ะ เพราะฉะนั้นเป็นอีกสายที่มีความรวดเร็วอย่างมาก หากจะเดินทางไปสถานีที่สำคัญ ตามลิสต์ด้านล่างนี้ ก็จะสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็วค่ะ
- Omiya Station
- Tabata Station
- Ueno Station
- Okachimachi Station
- Akihabara Station
- Tokyo Station
- Yurakucho Station
- Shimbashi Station
- Hamamatsucho Station
- Shinagawa Station
- Kawasaki Station
- Yokohama Station

รถไฟ Keihin-Tohoku Line ภาพจาก www.jreast.co.jp
Chuo Line (中央線)

ภาพจาก www.jreast.co.jp
หน้าตาของแผนที่รถไฟสาย Chuo อาจจะมีความคล้ายคลึงกับ Yamanote Line นะคะ แต่รถไฟสายนี้จะวิ่งจากตะวันตกไปทางตะวันออกค่ะ โดยผ่านสถานีตามลิสต์ด้านล่างนี้
- Nakano
- Higashi-Nakano
- Okubo
- Shinjuku
- Yoyogi
- Sendagaya
- Shinanomachi
- Yotsuya
- Ichigaya
- Iidabashi
- Suidobashi
- Ochanomizu
- Tokyo
รถไฟสาย Chuo มี 2 รูปแบบ
- Rapid services (Kaisoku) รถไฟสายนี้จะเป็นสีส้ม และจะจอดแค่เฉพาะสถานีที่สำคัญเท่านั้น Shinjuku, Yotsuya, Ochanomizu, Kanda และ Tokyo Station.
- Local services (Futsu), รถไฟสายนี้จะเป็นสีเหลือง และจะจอดทุกสถานีค่ะ

รถไฟ Chuo Line (Local) ภาพจาก www.jreast.co.jp

รถไฟ Chuo Line (Rapid) ภาพจาก www.jreast.co.jp
Saikyo Line (埼京線)
สายรถไฟสายนี้ เป็นสายที่วิ่งจาก Saitama มา Tokyo ค่ะ คำว่า ‘Sai’ มาจากจังหวัด Saitama ส่วนคำว่า ‘Kyo’ มาจากคำว่า Tokyo รถไฟสายนี้จะวิ่งจากสถานี Omiya ที่อยู่ในจังหวัด Saitama ผ่านเมืองโตเกียวและลงไปที่สถานี Osaki ใน Shinagawa อีกทั้งยังวิ่งขนานไปกับสาย Yamanote Line ในส่วนทางครึ่งหนึ่งของทิศตะวันตกของวงกลม และในบางขบวนเชื่อมกับ Rinkai Line ด้วย ดังภาพด้านล่างค่ะ

โดยหน้าตาของรถไฟสาย Saikyo Line จะมีสีเขียวสดใสตามภาพด้านล่างค่ะ

ภาพจาก www.japan-rail-pass.com/
วิธีในการดูสถานีก็ไม่ยากค่ะ ให้สังเกตสถานีปลายทางให้ดี จะยกตัวอย่างจากภาพด้านล่างนะคะ ให้เราเช็คว่าสถานีปลายทางของขบวนที่เราจะไปคือที่ไหน อย่างผู้เขียนปลายทางคือ Hon-Kawagoe เพราะฉะนั้นก็จะต้องขึ้นรถไฟขบวนที่เขียนว่าไป Hon-Kawagoe ค่ะ ซึ่งสายนี้มีทั้ง Local, Express และ Limited Express อย่างที่บอกไปก่อนหน้าค่ะ ถ้าเป็น Local ก็จะจอดทุกป้าย และใช้เวลามากกว่า ส่วน Express จะไม่จอดทุกป้ายเลยจะเร็วกว่า แต่ต้องเช็คว่าจอดสถานีเราด้วยหรือไม่ ส่วน Limited Express ก็จะจอดแค่ปลายทางเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ลงสถานีเรา

เป็นอย่างไรบ้างคะ อ่านไปอ่านมาสนุกใช่ไหมคะ ถ้ามาช่วงแรกก็ต้องบอกว่างงกันเป็นธรรมดา เพราะที่จริงแล้วที่นำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นเพียงแค่ในส่วนของสาย JR ที่วิ่งหลัก ๆ ในโตเกียวเท่านั้น ยังไม่รวมอีกหลายสายทั้งใต้ดิน และบนดินอื่น ๆ ถ้าอยากจะใช้อย่างคล่องแคล่ว ก็ต้องผ่านการนั่งทุกวัน จนจำเวลาได้ จำวิธีการขึ้นได้ค่ะ ผู้เขียนใช้เวลาหลงทางอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ค่ะ และหลังจากนั้นก็สามารถปรับตัวและกลมกลืนไปกับคนท้องถิ่นได้ไม่มีปัญหา ใครที่จะมาเรียนหรือมาเที่ยว ลองนำไปใช้เพื่อวางแผนการเดินทางดูนะคะ ขอให้สนุกกับการมาที่ญี่ปุ่นค่ะ